เป็นจุดยุทศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะเชื่อมต่อกับ จีน อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี และญี่ปุ่น ประชากรรวมกันมากกว่า 3.5 พันล้านคน หรือเรียกกว่ารวมคนครึ่งโลกเอาไว้ที่นี่ ก่อเกิด GDP เป็นสัดส่วนกว่า 32% ของทั้งโลก และนับว่าโชคดียิ่งที่ ประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งสำคัญทางเศรษฐกิจแห่งนี้ อาณาเขตตอนกลางและตอนใต้ติดทะเล ส่วนตอนบนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านและผ่านไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ได้อีกด้วย
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ) จึงเล็งเห็นโอกาสและศักยภาพทางเศรษฐกิจอันไพศาลนี้ และมีเป้าหมายที่จะยกระดับธุรกิจในประเทศไทยให้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจระดับโลก
EEC คืออะไร และจะทำอะไร?
EEC ย่อมาจาก Eastern Economic Corridor หรือชื่อภาษาไทยเรียกว่า โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจาก แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard ซึ่งดำเนินมาตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา
โดยในครั้งนี้สำนักงานเพื่อการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ) มีเป้าหมายหลักในการเติมเต็มภาพรวมในการส่งเสริม การลงทุนซึ่งจะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและทำให้ เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว โดยในระยะแรกจะเป็นการยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัดคือ
ซึ่งทั้ง 3 พื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นกลุ่มเขตอุตสาหกรรมสำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศอยู่แล้ว อุดมไปด้วยโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีสนามบิน รวมถึงมีท่าเรือที่มีตู้สินค้าผ่านมากที่สุดเป็นอันดับที่ 22 ของโลก EEC จึงเล็งพัฒนาต่อยอดจากพื้นที่มีมีความพร้อมสูงสุดให้เป็นพื้นที่นำร่องเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผ่านการบริหารจัดการในการกำกับดูแลของ คณะกรรมการนโยบายพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
โครงการนำร่องของ EEC มีอะไรบ้าง?
EEC จะมีส่วนในการพัฒนาเมืองและแหล่งท่องเที่ยวให้พร้อมในการอยู่อาศัย พักผ่อน และประกอบธุรกิจ มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีความทันสมัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้คนในพื้นที่เดิมและผู้ที่จะเข้ามาลงทุนใหม่ ภายใต้การลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน ด้วยวงเงินประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท
โครงการโดยสังเขปจากการรายงานของเว็บไซต์
กลุ่มอุตสาหกรรมดั้งเดิม 5 กลุ่ม
กลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่ 5 กลุ่ม
EEC กับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
EEC ถือเป็นเขตส่งเสริมการลงทุน และผู้ประกอบการที่ลงทุนในเขตเศรษฐกิจการลงทุนพิเศษแห่งนี้จะได้รับสิทธิพิเศษจาก คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้แก่
Alibaba แสดงความสนใจ EEC
อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อเมื่อปี 2017 โดยประมาณหนึ่งว่ามีนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ EEC และหนึ่งในนั้น คือ Alibaba ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ E-Commerce โดยผู้บริหารผู้มีอำนาจแทนได้หารือกับผู้เกี่ยวข้องฝั่ง EEC ภายใต้ชื่อโครงการ ‘Fifth Generation E-Commerce Park’ เพื่อเข้าร่วมเป็นศูนย์กลางการผลิต การค้า การขนส่ง และการอบรมความรู้ด้าน E-Commerce ในพื้นที่
สรุป
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC (Eastern Economic Corridor) เป็นโครงการใหญ่ที่น่าจับตามอง เมื่อทุกอย่างดำเนินไปตามแผนงาน จะสร้างแรงสั่นสะเทือนเชิงบวกทางเศรษฐกิจและนี่อาจทำให้ประเทศไทยกลับมาคึกคักในฐานะหนึ่งศูนย์กลางธุรกิจสำคัญแห่งเอเชีย
ขอบคุณข้อมูล : ceoblog
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.