เมื่ออยู่ในขั้นตอนการค้นหาที่อยู่อาศัย บางครั้งผู้วางแผนซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยไม่ได้มีข้อมูลยืนยันตัวตนมากเพียงพอให้นำไปตรวจสอบได้ ทำให้เกิดความกังวลเรื่องความน่าเชื่อถือหรือหวาดระแวงว่าจะตกหลุมพรางของมิจฉาชีพ
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) แนะนำ 5 แนวทางเสริมเกราะป้องกันมิจฉาชีพเมื่อเลือกซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัย มีประเด็นใดบ้างที่ผู้วางแผนซื้อ/เช่าอสังหาฯ ควรตรวจสอบก่อนทำธุรกรรม เพื่อปิดช่องโหว่ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจนสูญเสียทรัพย์สินและข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้ไม่ประสงค์ดี
1. เช็กความน่าเชื่อถือของแหล่งประกาศขาย/ให้เช่า ปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางในการลงประกาศขาย/ให้เช่าที่อยู่อาศัยทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งมีจุดเด่นที่แตกต่างกันเพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้บริโภคที่ต้องการค้นหาที่อยู่อาศัยจึงต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งลงประกาศด้วยเช่นกัน
2. เช็กประวัติและผลงานก่อนเลือกใช้เอเจนต์อสังหาฯ หรือเลือกใช้เอเจนต์ที่ได้รับการยืนยันตัวตน (Agent Verification) การซื้อ/เช่าที่อยู่อาศัยต้องใช้เวลาในการดำเนินการต่าง ๆ พอสมควร ทำให้หลายคนเลือกใช้เอเจนต์อสังหาฯ มาเป็นผู้ช่วยเพื่อลดความยุ่งยากในการดำเนินการ
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ผู้บริโภคควรพิจารณาก่อนเลือกใช้เอเจนต์อสังหาฯ คือการนำข้อมูลเบื้องต้นของเอเจนต์มาตรวจสอบประวัติ ผลงานที่ผ่านมา รวมทั้งรีวิวจากลูกค้าท่านอื่นที่เคยใช้บริการ ก่อนจะติดต่อพูดคุยในเบื้องต้นเพื่อขอข้อมูลโครงการในทำเลที่เอเจนต์นั้น ๆ มีความเชี่ยวชาญหรือมีเครือข่ายเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกใช้อีกครั้ง
โดยสามารถเลือกใช้ “เอเจนต์ที่ได้รับการยืนยันตัวตน (Agent Verification)” บนเว็บไซต์ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ที่รวบรวมเอเจนต์อสังหาฯ ที่ผ่านการลงทะเบียนเรียบร้อย ซึ่งจะแสดงข้อมูลการติดต่อที่ชัดเจนและความเชี่ยวชาญเบื้องต้นของแต่ละเอเจนต์เป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้พิจารณา โดยสามารถสังเกตได้จากป้ายสัญลักษณ์สีเขียว “ยืนยันตัวตน” หรือ “Verified” ถือเป็นอีกตัวเลือกที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจและคลายกังวลให้ผู้บริโภคที่มองหาเอเจนต์
3. เช็กคุณภาพด้วยการเยี่ยมชมโครงการจริง การไปเยี่ยมชมโครงการจริงเพื่อสำรวจคุณภาพงานก่อสร้างและงานตกแต่งจะช่วยในการตัดสินใจได้ดีที่สุด โดยเมื่อผู้บริโภคได้สัมผัสบรรยากาศจริงของโครงการจะทำให้ประเมินความพึงพอใจควบคู่ไปกับราคาขาย/เช่าได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ได้เห็นสภาพแวดล้อมจริงและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของโครงการว่าเหมาะสมกับค่าส่วนกลางที่ต้องจ่ายมากน้อยเพียงใด รวมทั้งยังได้เห็นสภาพแวดล้อมของชุมชมข้างเคียงเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายและวางเงินมัดจำ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสดีที่จะได้พบตัวจริงของผู้ขายหรือเอเจนต์เพื่อพูดคุยและเจรจาต่อรองเรื่องราคาอีกด้วย
4. เช็กเอกสารสิทธิ์และผู้ถือกรรมสิทธิ์ตัวจริง เมื่อได้ที่อยู่อาศัยที่ถูกใจแล้ว ผู้จะซื้อควรตกลงราคาขายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ กับผู้จะขายหรือเอเจนต์ให้ชัดเจนก่อนตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งขั้นตอนนี้ถือเป็นโอกาสของผู้จะซื้อในการตรวจสอบเอกสารสิทธิ์เบื้องต้นจากเอกสารแสดงข้อมูลส่วนตัวที่ผู้จะขายแนบมาพร้อมกับสัญญาจะซื้อจะขาย ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จะขาย รวมทั้งเอกสารสิทธิ์ที่ดินหรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ
5. เช็กรายละเอียดสัญญาให้รอบคอบก่อนทำธุรกรรม ผู้บริโภคควรใส่ใจอ่านรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายให้รอบคอบเนื่องจากจะมีผลผูกมัดและเกี่ยวเนื่องกับการทำธุรกรรมซื้อขายในอนาคต โดยในสัญญาจะซื้อจะขายต้องระบุรายละเอียดการจัดทำสัญญา รายละเอียดของคู่สัญญา รายละเอียดอสังหาฯ ที่ทำการซื้อ ราคาขายที่ตกลงกันและการชำระเงิน รายละเอียดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และการส่งมอบอสังหาฯ รวมไปถึงเงื่อนไขต่าง ๆ หากผิดสัญญาหรือเกิดการระงับสัญญา
ขอบคุณข้อมูลจาก : bangkokbiznews
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
บ้านดี (Baan-D)
บ้านดีดอทคอม ศูนย์รวมข้อมูลบ้านและคอนโด พร้อมรีวิวเจาะลึกโครงการฯ วิเคราะห์ทำเลที่พักอาศัย และอัพเดทข่าวสารในแวดวงอสังหาฯ
“บ้านดี - สื่อกลางสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อและขายบ้าน รวมถึง อสังหาริมทรัพย์เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร”
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.
Copyright © 2018 Baan-D.com. All rights reserved.